วัชพืช
วัชพืช คือ พืชที่ขึ้นผิดตำแหน่ง เจริญเติบโตเร็ว ทำให้พืชหลักของเราถูกแย่งสารอาหาร แย่งน้ำ บดบังแสงแดด เป็นที่อาศัยของศัตรูพืช ทำให้พืชหลักเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่หรือเจริญเติบโตช้า
5 วัชพืชที่มักพบเจอในสวน หญ้าแห้วหมู หญ้าคา กกทราย หญ้ารังนก ไมยราบเครือ
วัชพืช แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. วัชพืชที่แบ่งตามอายุของวัชพืช ได้แก่
1. |
วัชพืชล้มลุก เป็นวัชพืชที่มีอายุปีเดียว หรือไม่เกิน 1 ฤดู เช่น ผักเบี้ย ผักโขม ผักยาง หญ้าปากควาย หญ้าตีนนก |
2. |
วัชพืชยืนต้น เป็นวัชพืชที่มีอายุอยู่ได้หลายปี เช่น หญ้าคา หญ้าขน แห้วหมู หญ้าแพรก หญ้าชันกาด สาบเสือ ไมยราบ |
2. วัชพืชที่แบ่งตามลักษณะของลำต้นหรือใบ ได้แก่
1. |
วัชพืชใบแคบ เป็นวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยว |
วัชพืชวงศ์หญ้า เช่น หญ้าคา หญ้าขน หญ้าขจรจบ หญ้าปากควาย หญ้ารังนก หญ้าตีนนก หญ้าขจรจบ |
|
วัชพืชวงศ์กก เช่น กกขนาก กกสามเหลี่ยม กกทราย แห้วหมู แห้วกระดาน แห้วทรงกระเทียม |
|
2. |
วัชพืชใบกว้าง เป็นวัชพืชใบเลี้ยงคู่ |
เช่น ผักเบี้ย สาบเสือ ไมยราบ บานไม่รู้โรยป่า น้ำนมราชสีห์ ผักโขมหนาม ผักเสี้ยน ผักยาง ผักปราบ |
|
3. |
วัชพืชประเภทเฟิร์น เช่น ผักแว่น ผักกูดนา จอกหูหนู |
4. |
วัชพืชประเภทสาหร่าย เช่น สาหร่ายไฟ ตะไคร่น้ำ |
5. |
วัชพืชน้ำ เช่น ผักตกชวา จอกแหน |
6. |
วัชพืชจำพวกกาฝาก ที่ขึ้นบนต้นไม้ เช่น กล้วยไม้ต่างๆ ฝอยทอง |
การกำจัดวัชพืช
1 ดึงออกด้วยมือ
เหมาะสำหรับพื้นที่เล็กและเพิ่งพบจำนวนน้อย สามารถถอนออกมาได้ทั้งรากทั้งโคน แต่ต้องทำให้ดินอ่อนนุ่มเสียก่อน จึงทำให้ดึงออกมาได้ง่าย
2 กำจัดด้วยการใช้สารเคมีฉีดพ่น
แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ตามลักษณะการใช้ได้ 2 ประเภท คือ
2.1 สารคุมวัชพืช ใช้พ่นลงบนดินตอนเตรียมดิน เข้าทำลายยับยั้งส่วนที่อยู่ใต้ดินของวัชพืช
2.2 สารฆ่าวัชพืช ใช้พ่นลงบนใบ เข้าทำลายโดยพืชจะดูดซึมไปยังส่วนต่างๆ ของวัชพืช
การพรวนดิน
การพรวนดินในพื้นที่ปลูกต้นไม้เป็นขั้นตอนสำคัญ ที่ช่วยเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของต้นไม้ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของอากาศและน้ำในดิน ทำให้ดินมีความชื้น มีความร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี รากพืชหาอาหารได้ดีขึ้น ช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี
วิธีการพรวนดินที่ถูกต้อง
1. |
ควรเริ่มจากใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม คือ ส้อมพรวน เพราะเป็นเครื่องมือเล็ก เหมาะมือ ทำให้สามารถพรวนดิน ด้วยแรงที่เหมาะสม ไม่รุนแรงจนเกินไป จนอาจส่งผลกระทบต่อรากพืชได้ |
2. |
การใช้ส้อมพรวน จอบ เสียม เหมาะกับงานขุดพลิกหน้าดินที่แห้งกรัง |
3. |
พรวนดินลงไปบริเวณรอบๆ ต้นไม้เท่านั้น ไม่ควรพรวนดินตรงโคนต้นไม้ หรือ รากต้นไม้เลย เพราะอาจเข้าไปทำลายรากพืชให้เสียหาย |
4. |
โดยควรพรวนดินเมื่อดินแห้ง แน่นพอสมควร ไม่ควรพรวนดินบ่อยๆ เพราะอาจกระทบกระเทือนต่อรากพืช |
ประโยชน์ของการพรวนดิน
1. ดินมีความร่วนซุย รากพืชหาอาหารได้ดีขึ้น
ปลูกพืชไปนาน ๆ ดินมักแห้งและแน่นทึบ ทำให้รากพืชหาอาหารได้ลำบาก ดังนั้น การพรวนดิน จะช่วยให้ดินมีความร่วนซุย เวลารดน้ำใส่ปุ๋ย ก็จะทำให้รากพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหาร หาอาหารได้ดีขึ้น
2. เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ รักษาความชื้นภายในดิน
เมื่อพรวนดินลงไป จะช่วยพลิกหน้าดินที่แห้งกรัง กลับเป็นหน้าดินที่ชุ่มชื้น ทำให้เวลารดน้ำลงไป จะช่วยเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน ให้คงอยู่ยาวนาน
3. อินทรีย์วัตถุย่อยสลายได้ดีขึ้น
เวลาพรวนดิน เรามักรดน้ำใส่ปุ๋ยด้วย เพราะหลังจากเราพรวนดินลงไปแล้ว จะทำให้ดินมีความร่วนซุย ช่วยให้อินทรียวัตถุย่อยสลายในดินได้ดีขึ้น รากพืชก็สามารถเข้าถึงธาตุอาหารต่าง ๆ ได้ง่าย
4. กำจัดวัชพืชไม่ให้เจริญเติบโต
หากมีวัชพืชขึ้นอยู่รอบ ๆ การพรวนดินจะช่วยถอน และ กำจัดวัชพืชไม่ให้เจริญเติบโต หยุดการแย่งธาตุอาหารกับพืชที่เราปลูก
5. ลดการพังทลายของหน้าดิน
กรณีที่ปลูกพืชในสวนหรือแปลงปลูก แล้วเราพรวนดินเป็นก้อนโต ๆ จะเกิดช่องว่างระหว่างดิน ทำให้แม้ฝนตกหนัก ก็จะช่วยชะลอการไหลของน้ำ ลดการพังทลายของหน้าดินได้