โรคของต้นไม้
โรคพืชมีสาเหตุมาจาก มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเกิดโรค และมีเชื้อโรคในพื้นที่ และเมื่อต้นไม้อ่อนแอไม่แข็งแรงก็จะโดนโรคพืชเข้าเล่นงานได้ง่าย
ซึ่งโรคพืชเกิดได้จาก เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ไส้เดือนฝอย
เชื้อรา |
ทำให้เกิด โรครากเน่า ใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราดำ ราแป้ง ฯลฯ |
แบคทีเรีย |
ทำให้เกิด โรคใบจุดบางชนิด แพร่ระบาดทำลายได้ทุกส่วนของพืช |
ไวรัส |
ทำให้เกิด โรคใบเหี่ยว ใบม้วน แพร่ระบาดโดยมีแมลงเป็นพาหะถ่ายทอดโรค |
ไส้เดือนฝอย |
ทำให้เกิด โรครากปม ระบบรากไม่เจริญ แพร่ระบาดทางดิน ดูดกินน้ำเลี้ยงรากพืช ทำให้รากเป็นปมหรือแตก |
แมลงศัตรูพืช
แมลงศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ย หนอน ด้วง หอยทาก ปลวก มอด ไร แมลงหวี่ขาว ฯลฯ และหากจะกำจัดแมลงศัตรูพืช สามารถกำจัดโดยตรงคือจับออก เช่น หนอน หอยทาก หรือ กำจัดใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมี ทั้งแบบเมล็ดหว่านและแบบสารฉีดพ่น
โรคพืชและแมลง ที่พบบ่อย
1. ปัญหา ต้นจามจุรีใบเหลือง และใบร่วงหนัก เริ่มตายที่ละกิ่ง
สาเหตุ ปัญหาหนอนด้วงเจาะที่ลำต้นจำนวนมาก ตัดเส้นทางลำเลียงอาหารของต้นไม้
การแก้ไขและป้องกัน
ใส่สารกำจัดแมลงชนิดเม็ดหว่าน เดือนละ 1-2 ครั้ง การใช้โรยรอบโคนต้นไม้ใหญ่ อัตราใช้ 200-400 กรัม ต่อต้นไม้ใหญ่หน้า 8” ขึ้นไป อัตราใช้ 100-200 กรัม ต่อต้นไม้ใหญ่หน้า 4”-8” การใช้รองก้นหลุมปลูก อัตรา 20 กรัมต่อหลุมปลูก รองก้นหลุมก่อนปลูก |
|
หากพบร่องรอยหนอนด้วง ให้ฉีดพ่นยากำจัดและป้องกัน ใช้วิธีพ่นแบบปรับฝอยหยาบ พ่นแบบอาบลำต้น ให้น้ำยาไหลลงไปตามรูที่หนอนด้วงเจาะ หรือใช้กระบอกฉีดยา ฉีดลงในรูด้วงที่ลำต้น |
2. ปัญหา แปลงไม้พุ่มเกิดอาการใบร่วง และทิ้งใบจำนวนมาก
สาเหตุ เมื่อพื้นดินมีความชื้นสูงจะเกิดโรคเชื้อรา ระบาดในไม้พุ่ม หรือ หากมีน้ำขังบนดินหรือใต้ดินเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดรากเน่า หาอาหารไม่ได้
การแก้ไขและป้องกัน
ถอนต้นที่เน่าหรือเกิดเชื้อราออกทันที และนำไปทิ้งทำลาย เนื่องจากเกิดโรคพืช เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลาม |
|
โรยสารปรับสภาพดิน โดโลไมท์ บริเวณแปลงปลูก (อัตรา 100-150 กรัม / พื้นที่ 1 ตร.ม.) |
|
เก็บเศษขยะ หรือเศษใบไม้ในแปลงปลูกออกให้หมด |
|
พรวนดินและเติมดินปลูก ให้ดินร่วนซุย ไม่มีหลุมบ่อและไม่อัดแน่น |
|
เซาะร่องรอบแปลงปลูกเท่าที่จำเป็น เพื่อให้มีแนวระบายน้ำ ไม่เกิดจุดที่มีน้ำขัง |
|
ฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดโรคพืช 7-14 วันต่อครั้ง ตามคู่มือของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ โดยเลือกใช้ 1 ชนิดตามชื่อสามัญ และผสมสารจับใบ |
|
การรดน้ำต้นไม้ในช่วงฝนตกหนัก อาจลดเหลือเพียง วันละ 1 ครั้ง หรือให้น้ำแบบวันเว้นวัน โดยพิจารณาแต่ละจุดว่ามีความชื้นหรือปริมาณน้ำเพียงพอแล้วหรือไม่ รวมถึงชนิดพรรณไม้ที่ต้องการน้ำแตกต่างกัน |
3. ปัญหา ต้นหลิวยอดแห้งและปลายกิ่งตาย
สาเหตุ เกิดโรคจากเชื้อรา และอาจมีแมลงประเภทเพลี้ย
การแก้ไขและป้องกัน
ตัดแต่งกิ่งที่แห้งตายออก |
|
รดน้ำสม่ำเสมอ โดยฉีดน้ำไปเลี้ยงให้ถึงลำต้นด้วย |
|
ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและศัตรูพืช 7-14 วันต่อครั้ง ตามคู่มือของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ โดยเลือกใช้ 1 ชนิดตามชื่อสามัญ และผสมสารจับใบ |
|
บำรุงต้นเพิ่มเติมด้วยปุ๋ยทางใบ ได้แก่ ปุ๋ยเกล็ด ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมสำหรับพืช ใส่ปุ๋ยทางดิน โดยให้ใช้ ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับ 16-16-16 ในอัตราส่วน 1:1 ทุก 15-30 วัน |
|
ใส่สารกำจัดแมลงชนิดเม็ดหว่าน เดือนละ 1-2 ครั้ง การใช้โรยรอบโคนต้นไม้ใหญ่ อัตราใช้ 200-400 กรัม ต่อต้นไม้ใหญ่หน้า 8” ขึ้นไป อัตราใช้ 100-200 กรัม ต่อต้นไม้ใหญ่หน้า 4”-8” |
4. ปัญหา ต้นไม้ใหญ่ผลัดใบนาน ใบน้อย ไม่สมบูรณ์
สาเหตุ ไม้ล้อมที่ลงปลูกมีอาการรากไม่เดิน จึงหาอาหารได้ไม่ดีเติบโตช้าผิดปกติ
การแก้ไขและป้องกัน
ใส่น้ำยาเร่งราก ตามคู่มือของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ รดบริเวณโคนต้น เดือนละ 1-2 ครั้ง |
|
ใส่ปุ๋ยทางดิน โดยให้ใช้ ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับ 16-16-16 ในอัตราส่วน 1:1 ทุก 15-30 วัน |
|
บำรุงต้นเพิ่มเติมด้วยปุ๋ยทางใบ ได้แก่ ปุ๋ยเกล็ด ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมสำหรับพืช ทุก 15-30 วัน
รดน้ำสม่ำเสมอ โดยฉีดน้ำไปเลี้ยงให้ถึงลำต้นและยอดใบด้วย เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ใบชุดใหม่ผลิเร็วขึ้น |
|
เปิดอากาศที่โคนต้น ให้มีระยะในการพรวนดินรอบโคนต้น ทำให้การระบายน้ำดียิ่งขึ้น และไม่ให้เป็นพื้นที่สะสมแมลงและโรคพืช อาจใส่ท่ออากาศข้างตุ้ม (ท่อนีโอเดรน) เพื่อช่วยระบายอากาศและทำให้รากเจริญเติบโตได้ดีขึ้น |
|
ใส่สารกำจัดแมลงชนิดเม็ดหว่าน เดือนละ 1-2 ครั้ง การใช้โรยรอบโคนต้นไม้ใหญ่ อัตราใช้ 200-400 กรัม ต่อต้นไม้ใหญ่หน้า 8” ขึ้นไป อัตราใช้ 100-200 กรัม ต่อต้นไม้ใหญ่หน้า 4”-8” |
|
ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและศัตรูพืช 7-14 วันต่อครั้ง ตามคู่มือของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ โดยเลือกใช้ 1 ชนิดตามชื่อสามัญ และผสมสารจับใบ |
|
บำรุงดินให้ร่วนซุย ด้วยปุ๋ยคอก พร้อมใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 เพื่อเพิ่มแร่ธาตุในดินให้กับต้นไม้ |