คลิกโทรหาเรา
ธาตุอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) พืชต้องการมาก
2. ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) พืชต้องการปานกลาง
3. ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก (Fe) คอปเปอร์ (Cu) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B) โมลิบดินัม (Mo) สังกะสี (Zn) พืชต้องการน้อย แต่ขาดไม่ได้
 
ประเภทของปุ๋ย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
 
1) ปุ๋ยชีวภาพ
คือปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตมาใช้เพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดิน
2) ปุ๋ยอินทรีย์
คือปุ๋ยที่มีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด มีธาตุอาหารน้อย จึงต้องใส่ปริมาณมาก พืชนำไปใช้ได้ช้า ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยปรับปรุงดินในระยะยาว
3) ปุ๋ยอนินทรีย์
คือปุ๋ยที่มีองค์ประกอบเป็นสารอนินทรีย์ หรือเรียกว่า ปุ๋ยเคมี ตัวเลขของสูตรปุ๋ย ตัวเลขเป็นตัวบอกค่าร้อยละของธาตุอาหารโดยน้ำหนัก เช่น ปุ๋ยสูตร 25-7-7 คือปุ๋ยหนัก 100 กก. จะมีธาตุอาหารทั้งหมด 39 กก. ได้แก่ ไนโตรเจน (N) 25 กก. ฟอสฟอรัส (P) 7 กก. และโพแทสเซียม (K) 7 กก. มีทั้งแบบเม็ดหว่าน และแบบละลายน้ำเพื่อพ่นทางใบ ปุ๋ยเคมีมีธาตุอาหารมาก พืชใช้ได้ทันที
 
 
ลักษณะการขาดธาตุอาหาร
 
1. อาการขาดธาตุอาหารหลัก
 
ไนโตรเจน (N)
ใบแก่สีจาง ซีดเหลือง ต้นแคระแกรน โตช้า
โพแทสเซียม (K)
ใบแก่มีสีเหลือง มีการตายของเนื้อใบ
ฟอสฟอรัส (P)
ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีม่วง แล้วกลายเป็นสีน้ำตาล และหลุดร่วง ลำต้นแกรน ไม่ผลิดอกออกผล
 
2. อาการขาดธาตุอาหารรอง
 
แคลเซียม (Ca)
ใบที่งอกใหม่จะเหี่ยวย่น ใบด่าง เส้นกลางใบด่าง
แมกนีเซียม (Mg)
ใบแก่มีสีเหลืองกระจายไปทั่ว แต่เส้นใบเขียว ใบงุ้มลงเป็นรูปถ้วยค่ำ
กำมะถัน (S)
ใบที่อยู่ส่วนล่างและใบแก่จะมีสีเหลือง ส่วนลำต้นจะแข็งแต่บอบบาง
 
3. อาการขาดธาตุอาหารเสริม
 
เหล็ก (Fe)
ใบอ่อนหรือใบส่วนยอดมีสีเหลือง และเส้นใบมีสีเขียว
คอปเปอร์ (Cu)
ใบอ่อนมีสีเขียงแก่ บิดผิดรูป มักพบจุดแผลตายบนใบ
โบรอน (B)
ขอบใบเหลืองปนน้ำตาล ใบอ่อนงอโค้งด้านบน ต้นพืชมีขนาดลดลง ยอดแห้งตาย
โมลิบดินัม (Mo)
สีซีดในพื้นที่ระหว่างเส้นกลางใบ หรือทั้งเส้นกลางใบ คล้ายอาการขาดไนโตรเจน บางครั้งใบไหม้เกรียม
แมงกานีส (Mn)
ใบอ่อนมีสีเหลือง แต่เส้นใบเขียว มีจุดสีน้ำตาลเล็กๆ และอาจขยายวงกว้าง
สังกะสี (Zn)
ใบมีสีเหลืองหรือขาวสลับเป็นทาง จากปลายใบสู่โคนใบ
 
การสังเกตุการขาดธาตุอาหาร จากใบแก่และใบอ่อน
 
 ใบแก่
สีจาง ซีดเหลือง กระจายทั่วใบ ขาดธาตุ ไนโตรเจน (N) กำมะถัน (S)
 ใบแก่
เป็นแผล ตุ่ม รอยด่าง เป็นดวง กระจายทั่วใบ ขาดธาตุ ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)
 ใบแก่
สีจาง ซีดเหลือง เป็นแผล ตุ่ม รอยด่าง เป็นดวง ระหว่างเส้นใบ ขาดธาตุ แมกนีเซียม (Mg) แมงกานีส (Mn)
 ใบอ่อน
สีจาง ซีดเหลือง กระจายทั่วใบ ขาดธาตุ เหล็ก (Fe) กำมะถัน (S)
 ใบอ่อน
สีจาง ซีดเหลือง ระหว่างเส้นใบ ขาดธาตุ สังกะสี (Zn) แมงกานีส (Mn)
 ใบอ่อน
เป็นแผล ตุ่ม รอยด่าง เป็นดวง กระจายทั่วใบ ขาดธาตุ แคลเซียม (Ca) โบรอน (B) คอปเปอร์ (Cu)
 ใบอ่อน

เสียรูปทรง ขาดธาตุ โมลิบดินัม (Mo) สังกะสี (Zn) โบรอน (B)

 
 
 
วิธีการใส่ปุ๋ย
เลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะกับความต้องการของพืชที่ปลูก ในช่วงเวลานั้น เช่น ต้องการสร้าง ต้องการสร้างดอก และใช้ปริมาณที่เหมาะสมไม่น้อยหรือมากเกินไป และควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดือนละครั้ง และควรเสริมการให้ปุ่ยที่มีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมแทรกบ้าง เช่น ทุก 3-5 เดือน 1 ครั้ง
ปุ๋ยเคมีรูปแบบเม็ด ใส่่บริเวณโคนต้น แล้วพรวนดิน รดน้ำตาม โดยรดน้ำให้เพียงพอเพื่อให้ปุ๋ยละลาย ติดต่อกัน 2-3 วัน
ปุ๋ยเคมีประเภทเกล็ดและน้ำ ใช้ฉีดพ่นทางใบ โดยละลายน้ำก่อนฉีดพ่น ตามคู่มือของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ และผสมสารจับใบ โดยช่วงเวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการพ่นปุ๋ยทางใบ คือช่วงเช้าจนถึงประมาณ 10.00 น.
ปุ๋ยอินทรีย์ โรยใส่บริเวณโคนต้นและพรวนดินตาม
 
 
© 2024 Oregon-Scape. All Rights Reserved.