คลิกโทรหาเรา
การให้น้ำต้นไม้ แบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. การให้น้ำโดยใช้แรงงานคน เหมาะสำหรับพื้นที่มีขนาดเล็กสามารถติดตั้งหัวจ่ายน้ำตามจุดต่างๆได้สะดวก แต่มีข้อเสียคือต้องใช้น้ำในปริมาณมากและเสียเวลาในการรดน้ำค่อนข้างนาน
2. การให้น้ำโดยใช้ระบบสปริงเกอร์
2.1 ระบบสปริงเกอร์ขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ต้องใช้แรงงานคนเข้ามาช่วย ค่าใช้จ่ายถูก
2.2 ระบบสปริงเกอร์แบบถาวร ติดตั้งตามตำแหน่งที่กำหนด มีระบบควบคุมอัตโนมัติ ช่วยประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลา และประหยัดน้ำมาก แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่สูง
 
 
 
มาตรฐานการรดน้ำต้นไม้ของ โอเรกอน สเคป
 
1. 
ต้นไม้แต่ละชนิดต้องการปริมาณน้ำในแต่ละวันไม่เท่ากัน ทีมงานจึงต้องวางแผนงานการรดน้ำของแต่ละวันให้เหมาะสม โดยกำหนดจำนวนคนที่ต้องรดน้ำ ระยะเวลาในการรดแต่ละจุด จำนวนสายยางและความยาวสายยางที่ต้องใช้ โดยคำนึงถึงระยะทางจากแหล่งน้ำและคำนวณปริมาณน้ำที่ต้องเตรียมให้พอใช้ เพื่อให้เสร็จทันตามแผนในแต่ละวัน
2. 
กรณีไม้พุ่ม ต้องรดน้ำวันละ 1-2 ครั้งคือช่วงเช้าหรือเย็น โดยขึ้นอยู่กับความต้องการต้นไม้แต่ละชนิด ซึ่งวิธีรดน้ำแล้วไม้พุ่มได้ประโยชน์มากที่สุดคือ หากสามารถรดน้ำเสร็จทั้งหมดทันในช่วงเช้า จะเป็นเวลาที่เหมาะสมเพราะต้นไม้จะได้นำน้ำไปใช้ในการสังเคราะห์แสง
3. 
กรณีต้นไม้ใหญ่(ไม้ยืนต้น) วิธีรดน้ำแล้วต้นไม้ใหญ่ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือ ทำการรดน้ำโดยจ่อที่โคนต้นไม้นานแบบหลายนาที เพราะต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ต้องการน้ำแต่ละวันในปริมาณมากกว่าไม้พุ่มหลายเท่าจึงจะเพียงพอในแต่ละวัน โดยรดจนกว่าน้ำจะซึมลงไปจนถึงรากที่อยู่ด้านล่าง 1-2 นิ้ว หลังจากนั้นจึงรดน้ำโดยโชยไปที่ใบรอบต้น
4. 
ปริมาณน้ำที่ใช้รดจะสัมพันธ์กับปริมาณแสงแดดที่ต้นไม้ได้รับ ถ้าต้นไม้ได้รับแสงแดดมากน้ำระเหยเร็วควรรดน้ำมากขึ้น ดังนั้นถ้าต้นไม้มีอาการใบสลดไม่ชูตั้งเหมือนปกติ ต้องรดน้ำเพิ่มทันที
5. 
ฤดูกาลก็เป็นอีกปัจจัยในการรดน้ำ โดยช่วงหน้าร้อนทำให้น้ำระเหยเร็วต้องรดน้ำมากขึ้น แต่ช่วงหน้าฝนที่มีความชื้นในอากาศมากน้ำจะระเหยยาก ไม่ควรรดน้ำมากหรือเว้นการรดน้ำและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเชื้อราหรือเกิดรากเน่า
 
รับติดตั้งและวางระบบสปริงเกอร์ในสวน
 
1.
พิจารณาพื้นที่สวนทั้งหมด
ในแต่ละพื้นที่อาจมีความลาดเอียงของหน้าดินที่แตกต่างกัน จึงควรพิจารณาลักษณะหน้างานเสียก่อน ว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการวางท่อส่งน้ำหรือไม่ รวมถึงการมองหาตำแหน่งของแหล่งน้ำที่จะเป็นต้นทางในการจ่ายน้ำ เพื่อส่งไปยังส่วนอื่นๆภายในสวนมีระยะทางใกล้หรือไกลแค่ไหน โดยเมื่อมีข้อมูลของพื้นที่โดยรวมจึงสามารถวางระบบสปริงเกอร์ได้อย่างเหมาะสม
2.
กำหนดตำแหน่งในการติดตั้งสปริงเกอร์
การวางตำแหน่งสปริงเกอร์สามารถทำได้โดยแบ่งพื้นที่สวนอย่างง่ายๆ ตามประเภทของต้นไม้ที่ปลูก เพราะต้นไม้แต่ละชนิดจะมีความต้องการปริมาณน้ำที่แตกต่างกัน เพื่อการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
3.
เลือกหัวสปริงเกอร์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ในสวน
หัวจ่ายน้ำ หรือสปริงเกอร์ มีหลากหลายรูปแบบ เช่น มินิสปริงเกอร์, สปริงเกอร์แบบหัวสเปรย์, สปริงเกอร์สายฝน, สปริงเกอร์แบบขาปักมินิสปริงเกอร์ เป็นต้น ควรเลือกใช้สปริงเกอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ และเหมาะสมกับการจ่ายน้ำให้กับชนิดของต้นไม้ที่ปลูก โดยพิจารณาจากระยะการฉีดน้ำ ให้รัศมีการกระจายน้ำของหัวสปริงเกอร์พอดีกับพื้นที่สวน และเลือกหัวสปริงเกอร์ที่รองรับแรงดันน้ำอย่างเพียงพอต่อความต้องการของระบบสปริงเกอร์
4.
คำนวณขนาดของท่อเมน และเลือกวัสดุท่อส่งน้ำ
ท่อส่งน้ำทำหน้าที่ส่งน้ำไปยังส่วนต่างๆ ของสวน จะเลือกใช้วัสดุท่อ PE หรือท่อ PVC ก็ได้ ควรเลือกท่อส่งน้ำที่มีขนาดเหมาะสมกับพื้นที่สวน และสามารถทนต่อแรงดันน้ำตามที่ต้องการได้ ท่อส่งน้ำจะมีทั้งท่อเมน และท่อรองที่ส่งน้ำไปยังหัวจ่ายน้ำต่างๆ ดังนั้นจะมีอุปกรณ์ข้อต่อ PVC, ข้อต่อ PE ร่วมติดตั้งระบบสปริงเกอร์ด้วย ซึ่งก็ควรเลือกข้อต่อท่อให้เป็นขนาดและวัสดุเดียวกันกับท่อส่งน้ำ เพื่อการประกบติดได้อย่างแน่นหนาพอดี
5.
อุปกรณ์การจ่ายน้ำในระบบสปริงเกอร์
ระบบสปริงเกอร์ใช้แรงดันน้ำค่อนข้างสูง เพื่อให้การส่งน้ำไปยังส่วนต่างๆ ของสวนสามารถทำได้อย่างครอบคลุม จึงต้องการเครื่องปั๊มน้ำที่เหมาะสมกับระบบสปริงเกอร์ เลือกเครื่องปั๊มน้ำที่มีแรงดันน้ำเพียงพอต่อการใช้งาน รวมถึงการวางระบบเปิด-ปิดน้ำ วาล์วเปิด-ปิดน้ำ เช็ควาล์ว พิจารณาจุดที่จะวางอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้งานระบบสปริงเกอร์ได้อย่างสะดวกสบาย
© 2024 Oregon-Scape. All Rights Reserved.