ระดับความสูงที่เหมาะสม หลังจากทำการตัดหญ้า
ความสูง 1.0 นิ้ว - หญ้าพาสพาลั่ม หญ้าญี่ปุ่น หญ้าเบอร์มิวดา หญ้านวลน้อย
ความสูง 1.5 นิ้ว – หญ้ามาเลเซีย
มาตรฐานการดูแลสนามหญ้าของ โอเรกอน สเคป
หญ้าปลูกใหม่
เริ่มตัดหญ้าครั้งแรกหลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 20-30 วัน (รอจนรากหญ้ายึดติดกับพื้นดินได้ดี)
สนามหญ้าเก่า
วางแผนตัดหญ้าได้ 7-14 วัน/ครั้ง หรือหญ้าที่มีความยาวมากกว่า 1 นิ้ว ก็สามารถตัดได้ทันที
การกำจัดศัตรูพืช
จะทำการฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืช หลังจากรดน้ำประมาณ 3-4 ชั่วโมง
เพราะถ้ารดน้ำหลังจากฉีดพ่นยา น้ำจะไปล้างสารเคมีกำจัดศัตรูพืชออกไปด้วย
1. การตัดหญ้า
การตัดหญ้าต้องตัดตามความสูงที่กำหนดหรือถึงระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ปล่อยให้หญ้ายาวเกินไปแล้วจึงทำการตัด เพราะจะเกิดปัญหามากมายในภายหลัง
หากทิ้งช่วงการตัดหญ้านานเกินไป จะเกิดปัญหาตามมาหลายอย่างคือ ตัดแล้วเป็นตอสีน้ำตาลไม่สวยงาม ทำให้เกิดเศษหญ้าจำนวนมากหลังตัด หากเก็บเศษหญ้าไม่หมดก็จะทับถม ทำให้การระบายน้ำและการระบายอากาศของดินไม่ดี และยังเป็นแหล่งที่อยู่ของหนอนและแมลง ส่งผลให้สนามหญ้ามีการเติบโตช้า
จะทำการตัดหญ้าบ่อยๆ เพื่อช่วยให้สนามหญ้ามีความแน่นและสวยงาม |
|
จะทำการตัดหญ้าตอนสนามหญ้าแห้ง ไม่เปียกแฉะ |
|
เมื่อตัดหญ้าเสร็จ จะทำการเก็บกวาดเศษหญ้าออกจากสนามให้หมด โดยต้องคราดเอาเศษหญ้าออกจากสนามหญ้าทันที ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเกิดปัญหากับสนามหญ้าภายหลังคือ ทำให้เกิดการสะสมของชั้นหญ้า เกิดการเน่าและชักนำการเกิดโรค เป็นที่หลบซ่อนของแมลง ขัดขวางการหาอาหารและการดูดซึมธาตุอาหารอื่นๆของหญ้า |
*รอบในการตัดหญ้า 7-14 วัน ต่อครั้ง
ปัญหาของการทิ้งความสูงหญ้ามากกว่า 1.0-1.5 นิ้ว
1. หญ้าที่สูง จะเป็นที่อยู่ของโรค หนอน แมลง ทำให้หญ้าอ่อนแอ วัชพืชโจมตีได้ง่าย
2. หญ้าที่สูง เมื่อตัดหญ้าจะทิ้งโคนแก่สีน้ำตาล กว่าจะกลับมาเป็นสนามหญ้าที่มีสีเขียวใช้เวลาค่อนข้างนาน
3. หญ้าที่สูง ในการตัดแต่ละครั้งจะมีเศษหญ้าจำนวนมาก เก็บออกให้หมดได้ยาก เมื่อทับถมมากจะเกิดชั้นเศษสนามหญ้า ที่ทำให้กีดขวางอากาศและการระบายน้ำเป็นที่อยู่ของโรคและแมลง นานวันหญ้าจะค่อยๆทรุดโทรมถึงแม้จะทำการให้น้ำให้ปุ๋ย ก็ไม่สามารถส่งน้ำและธาตุอาหารต่างๆไปถึงรากหญ้าได้
|
2. การรดน้ำสนามหญ้า
หญ้าที่ลงปลูกใหม่
ทำการรดน้ำวันละ 4-5 ครั้ง เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดในช่วง 7-10 วัน จนกว่าหญ้ามีการแทงยอดลำต้นชี้ขึ้น และในช่วง 1 เดือนแรก ต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมอ เช้า-กลางวัน-เย็น จนกว่าหญ้าจะติดสมบูรณ์ หลังจากนั้นกลับมารดน้ำตามปกติวันละ 1 ครั้ง แต่สามารถให้น้ำเพิ่มได้ในช่วงที่แดดร้อนจัด เพื่อช่วยลดอุณหภูมิแก่พื้นดินและใบหญ้า โดยเฉพาะสนามหญ้ากลางแจ้งที่โดนแดดตลอดทั้งวัน ต้องให้น้ำมากเป็นพิเศษหากเป็นช่วงที่อากาศร้อนมาก
หญ้าสนามปกติ
ทำการรดน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และหากเป็นช่วงเช้าจะได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะหญ้าจะได้สามารถนำน้ำไปช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสงในช่วงที่แดดออก
ปริมาณน้ำที่ใช้รดหญ้าสนาม
รดน้ำให้ซึมลึกลงไปในดินประมาณ 1-2 นิ้ว ซึ่งหากสนามหญ้ามีขนาด 1 ไร่ จะต้องจัดเตรียมน้ำเพื่อใช้รดน้ำแต่ละวันประมาณ 8,000-10,000 ลิตร
3. การให้ปุ๋ยหญ้าสนาม
ทำการให้ปุ๋ยตามรอบอย่างน้อยเดือนละครั้ง ซึ่งปุ๋ยเคมีที่เหมาะกับสนามหญ้าคือ สูตร 46-0-0 (ปุ๋ยยูเรีย) สลับกับปุ๋ยสูตร 16-16-16
หากเป็นหญ้าเก่า ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (ปุ๋ยยูเรีย) ทุก 30 วัน
และอาจเพิ่มธาตุอาหารรอง แมกนีเซียม แบบละลายน้ำฉีดพ่นเพิ่มเติม |
|
ข้อสำคัญหลังหว่านปุ๋ยทุกครั้งต้องรดน้ำตามให้ชุ่ม โดยระวังอย่าให้เม็ดปุ๋ยตกค้างบนหญ้า ดังนั้นการให้ปุ๋ยต้องสัมพันธ์กับการให้น้ำ คือควรให้ปุ๋ยในช่วงเช้าเพื่อจะได้รดน้ำตามในช่วงเช้านั้นด้วย |
|
หากหญ้าสนามเกิดโรคระบาด ต้องงดการให้ปุ๋ยทันที หาทางแก้ไขโรคให้หายก่อน แล้วจึงให้ปุ๋ยทีหลัง |
4. การแก้ไขพื้นสนามหญ้าที่ไม่เรียบ (TOP DRESSING)
สนามหญ้าที่ไม่ราบเรียบเป็นหลุมเป็นบ่อและหลังจากทำการตัดหญ้า สีของหญ้าไม่สม่ำเสมอกัน จะเห็นเป็นสีเขียวสลับน้ำตาลเป็นหย่อมๆดูไม่สวยงาม ซึ่งการเกิดหลุมบ่อในสนามหญ้า มีได้หลายสาเหตุ เช่น การเตรียมพื้นที่ในช่วงก่อนปูหญ้าไม่ได้ทำการปรับพื้นดินให้เรียบ ดินเกิดการทรุดตัวลงในภายหลังการปลูก มีการใช้สนามหญ้าในการทำกิจกรรมต่างๆ
การท็อปทราย คือการทำให้ผิวของสนามหญ้าเกิดความราบเรียบไม่เกิดหลุมบ่อ
1. |
โรยทรายหยาบ บริเวณที่เป็นหลุมบ่อ |
2. |
ใช้คราดหรือที่เกลี่ย เกลี่ยทรายให้เรียบเสมอกัน |
3. |
โรยปุ๋ยให้ทั่วบริเวณ ด้วยปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 0.50 กก./พื้นที่ 100 ตร.ม. |
4. |
รดน้ำตามทันทีให้ชุ่มอย่าให้แฉะ น้ำจะเกลี่ยทรายกระจายไปบริเวณที่ต่ำกว่าได้ดีขึ้น |